Project Title: คชอาณาจักร / ELEPHANT KINGDOM
Location: บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ / SURINT PROVICE, THAILAND
Project Summary
Location: Surin Province, Thailand
Completion: 2011 (masterplan)
Total Land Area: 1,221ha (7633 rai / 3,017ac)
Client: Zoological Park Organization under Royal Patronage of H.M. the King
Landscape Architect: P.L. Design Co., Ltd.
Program
Financed by the Zoological Park Organization of Thailand, the Elephant Kingdom project was proposed in National Park land damaged by land encroachment and drought. The land had traditionally been used for elephant food harvesting over centuries and was one of the reasons why elephant domestication had developed in the area.
Objective
The primary aim was to stop elephant’s and the manhouts moving to cities in order to support them.
The ‘Kuai’ people have been a traditional elephant raising community in the NE region of Thailand for centuries with a symbiotic relationship to their elephant’s whom they consider family members. The project was specially proposed to support the ‘Kuai’ community in the area.
The study included research into the traditional relationship between the community and their elephants, community public hearings, study of similar developments and facilities and briefing from the Provincial Government and Zoological Park Organization.
It was found that the families and their elephants preferred to stay in the local community, but found moving to the city necessary due to insufficient food availability due to drought and deforestation.
Research found that if all of the community returned to the area there would potentially be 300 elephants involved in the project. If sufficient food and water could be provided, the project had potential to become the largest elephant village in the world.
Design Program
The first role of the project was to identify the design program for master plan development through research. Four key items were identified:
- To provide sufficient food and water to support the local community to return.
- After their return a large concentration of domestic elephants would create a tourist attraction for the region, potentially the largest in the province.
- To develop ecotourism with a ‘travel & learn’ theme, including facilities such as a Museum about the ‘Kuai’ people and their elephants.
- Sub projects to support the return and associated tourism to include an elephant retirement sanctuary, hospital, factory for processing dung into fertiliser and power and hotel facilities.
The designer s final role was to develop the master plan incorporating all of these elements and hopefully create the largest self-sufficient elephant village in the world.
ลักษณะโครงการ:
หมู่บ้านวัฒนธรรมชาวกูย พื้นที่สำหรับเลี้ยงช้าง (ซึ่งมีพื้นที่สนับสนุนโครงการอื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ช้างไทย โรงพยาบาลช้าง ฯลฯ
แนวคิดหลักของโครงการ:
โครงการคชอาณาจักร เป็นการร่วมมือกันระหว่างองค์การสวนสัตว์ อบจ.สุรินทร์ กรมป่าไม้ และชุมชนชาวกูย บ้านตากลาง จ.สุรินทร์ และควาญช้างเดี่ยวที่เข้าร่วมโครงการ ขั้นตอนในการทำงาน ผู้ออกแบบจะต้องมีการทำแบบสอบถาม สำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอตั้งแต่แนวทางในการพัฒนาโครงการ การบริหารจัดการ แนวทางการหารายได้ของโครงการ และการออกแบบทางกายภาพ เพื่อให้โครงการได้สามารถแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเป้าหมายคือ การให้ควาญช้างสามารถดำรงวิถีการเลี้ยงช้างได้ด้วยตนเอง สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ โดยรูปแบบชุมชนเลี้ยงช้างที่เกิดขึ้นที่นี่ จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิต-วัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์
รายละเอียดโครงการ:
1.วางเป้าหมายของโครงการคชอาณาจักร
โครงการคชอาณาจักร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านทางองค์การสวนสัตว์ โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติสวนป่าภูดิน บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
โครงการคชอาณาจักร มีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาพื้นที่ชุมชนชาวกูย และฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงภูดิน ซึ่งเป็นพื้นที่โดยรอบชุมชนดั้งเดิมให้อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพที่จะดึงดูดให้ชาวช้าง นำช้างของตนกลับสู่ถิ่นฐานเดิม พลิกฟื้นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างชาวกูยกับช้าง และสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป
จากการลงสำรวจข้อมูลจากควาญช้างชาวกูยในพื้นที่บ้านตากลาง จ.สุรินทร์ พบว่า ชาวกูยนั้นมีความผูกพันธ์กับช้างเหมือนญาติ นับกันเป็นพี่น้อง และเป็นความภูมิใจของชายชาวกูยที่จะมีช้างเป็นของต้นเอง แต่ในบางทีที่จะต้องเข้ามาเร่ร่อนในเมืองใหญ่ เพราะช้างเป็นสัตว์ที่กินจุ ในหน้าแล้งอาหารช้างจะเป็นสิ่งที่หายาก เนื่องจากไม่มีน้ำ ทำให้พืชอาหารช้างไม่สามารถให้ผลผลิตได้เพียงพอเท่าที่จะเลี้ยงช้างได้ ทางเดียวที่จะสามารถเลี้ยงช้างของตนเองได้ คือจะต้องเข้ามาในเมือง หากทางรัฐมีนโยบายที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ง และทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่กับช้างในพื้นที่ดั้งเดิมใด้ ควาญช้างและครอบครัวส่วนใหญ่ยินดีเข้าร่วมโครงการ
2.สร้างแนวทางในการออกแบบและพัฒนาโครงการ
ใช้ความมั่งคั่งทางอาหาร พลิกฟื้นชุมชน สร้างหมู่บ้านคนเลี้ยงช้างขนาด 300 เชือก ให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ทางอาหาร ทั้งของคนและช้าง โดยการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 2000ไร่ โดยการปลูกป่าและพืชอาหารช้าง เพื่อเป็นแรงดึงดูดให้ชาวบ้านนำช้างเข้ามาร่วมในโครงการ และเมื่อเกิดชุมชนขึ้นแล้ว จึงให้แนวทางในการพลิกฟื้นประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนเลี้ยงช้าง ให้มีความเข้มแข็งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นทั้งสำหรับคนและช้าง หมู่บ้านคนเลี้ยงช้างนี้จะจำลองสถาปัตยกรรมท้องถิ่น วางผังโดยใช้รูปแบบของหมู่บ้านแบบท้องถิ่น และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นให้หมู่บ้านเช่น ระบบชลประธาน ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ สนับสนุนให้ควาญช้าง สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ด้วยแนวคิด “ควาญที่มีความสุข ย่อมดูแลช้างด้วยความรักและเอาใจใส่”
ใช้เอกลักษณ์ชุมชนสร้างแหล่งท่องเที่ยว
ขณะที่วางรากฐานทางด้านอาหารและปัจจัยการดำรงชีวิตให้แก่ชุมชนจนเกิดความเข้มแข็งแล้ว จะต้องทำการส่งเสริมและสนับสนุนให้ฟื้นฟูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ควบคู่กันไป โดยทางโครงการจะส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางวัฒนธรรม การพลิกฟื้นวิถีชีวิตชาวบ้าน ส่งเสริมให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมนั้นๆ เกิดความรักและหวงแหน ต้องการที่จะสืบทอดสิ่งเหล่านั้นต่อไปด้วยตนเอง
ในขณะเดียวกันก็ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบ และนำเสนอวิถีชีวิตระหว่างคนและช้างเป็นเนื้อหาสำคัญในการท่องเที่ยว ซึ่งจะทำโครงการ “คชอาณาจักร” จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ และจะทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว
ส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวของภาคอีสานตามแนวความคิด “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม”
โดยการส่งเสริมให้โครงการคชอาณาจักร เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญเรื่องช้างไทย ทั้งทางด้านธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์ และความเป็นอยู่ในอดีตระหว่างช้างกับคนไทย โดยจัดให้มี พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เรื่องช้างไทยที่สมบูรณ์ที่สุด และจัดให้มี ศูนย์แสดงวัฒนธรรมชาวกูย มีการแสดงพื้นบ้าน จัดแสดงพิธีกรรมที่สำคัญของชาวกูย เป็นแหล่งเรียนรู้ตำราคชศาสตร์ และพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับช้าง จัดให้มีศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อการฝึกอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ฯลฯ
สร้างส่วนสนับสนุน เพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์
สำหรับช้างปลดระวาง ช้างที่ถูกทำร้ายทารุณ ศูนย์ฯ จะจัดให้มีพื้นที่พักช้าง ในรูปแบบ NATURAL SANCTUARY และจัดให้มีโรงพยาบาลช้าง ดูแลช้างที่เจ็บป่วย โรงงานแปรรูปมูลช้าง โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ และจัดเตรียมสิ่งอำนวยสะดวกต่างๆสำหรับนักท่องเที่ยว
3. นำแนวความคิดการออกแบบมาสู่ผังแม่บท
จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดข้างต้น ได้ข้อสรุปว่า “โครงการคชอาณาจักร” มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องช้างที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีองค์ประกอบที่สำคัญด้วยกันหลายอย่างได้แก่
- เป็นที่ตั้งของชนเผ่าเลี้ยงช้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันยังมีการเลี้ยงช้างกันอยู่อย่างหนาแน่น
- มีช้างในพื้นที่อยู่เป็นจำนวนมาก
- ชาวกูยเลี้ยงช้าง มีความรักและความผูกพันกับช้างของตนเองเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความภาคภูมิใจในวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังคงอยู่ และต้องการที่จะสืบสานวิถีชีวิตนี้ต่อไป
- มีพื้นที่โครงการที่เหมาะสม ขนาดกว้างขวาง มีลักษณะทางธรรมชาติที่ครบถ้วนทั้งป่าและแม่น้ำในขณะเดียวกัน พบว่าในพื้นที่โครงการยังมีข้อจำกัดและปัญหาบางอย่างที่ควรปรับปรุงแก้ไข ได้แก่
- ปัญหาแหล่งน้ำ โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่ฝนขาดช่วง ทำให้ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการปลูกพืชอาหารช้างทำให้ควาญบางส่วนต้องซื้ออาหารช้างเพิ่มเติม รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
- จำนวนนักท่องเที่ยวน้อย โดยเฉพาะช่วงนอกเทศกาล
- รูปแบบการแสดงช้าง มีความคล้ายคลึงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในประเทศไทย
ดังนั้น จึงมีแนวความคิดที่จะพัฒนาโครงการคชอาณาจักรนี้ ภายใต้แนวความคิด “สู่โลกของกูยและช้าง” ที่จะนำเสนอวิถีชีวิตที่น่าประทับใจของ ชาวกูยเลี้ยงช้างและช้างของพวกเขา ผ่านทางวิธีการ “เรียนรู้ตามอัธยาศัย” นำเสนอเนื้อหาความรู้ร่วมกับการสัมผัสประสบการณ์จริงภายในหมู่บ้านคนเลี้ยงช้าง ซึ่งผู้เข้ามาเยี่ยมชมจะมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนไปพร้อมๆ กัน โดยรูปแบบโครงการจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
หมู่บ้านวัฒนธรรมกูย
ตามรอยเส้นทางการโพนช้างในป่า
หมู่บ้านคนเลี้ยงช้าง
โรงพยาบาลช้าง
ศูนย์ศึกษาพฤติกรรมช้าง(คชบริบาล)